ตะกละ, ตะกลาม หมายถึง [-กฺละ, -กฺลาม] ว. มักกิน, กินไม่เลือก, เห็นแก่กิน, มักใช้รวมกันว่า ตะกละตะกลาม ก็มี, จะกละจะกลาม ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า อยากได้มาก ๆ.
[-กฺละ, -กฺลาม] ว. มักกิน, กินไม่เลือก, เห็นแก่กิน, มักใช้รวมกันว่า ตะกละตะกลาม ก็มี, จะกละจะกลาม ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า อยากได้มาก ๆ.
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis ในวงศ์ Varanidae ตัวสีนํ้าตาลเหลืองปากแหลม ลิ้นยาวแยกเป็น ๒ แฉก หางยาวใช้ฟาดเพื่อต่อสู้ป้องกันตัว อาศัยตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบหากินตามพื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่งพาดตัวนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก.
น. ส่วนของเครื่องทอผ้าทําด้วยเส้นด้ายร้อยกับกรอบไม้ สําหรับแยกเส้นด้ายยืนให้ขึ้นลงเพื่อให้ขัดกับเส้นด้ายพุ่ง.
ว. หนุ่ม, รุ่น, มักใช้เข้าคู่กับคํา รุ่น และ หนุ่ม เป็น รุ่นตะกอ หนุ่มตะกอ, ใช้ว่าสะกอ ก็มี.
น. สิ่งที่ละลายปนอยู่ในนํ้าหรือของเหลวอื่นแล้วตกจมลงนอนก้นภาชนะเป็นต้น; (ภูมิ) สารต่าง ๆ ที่ผุพังทําลายโดยทางวิธีกล ทางเคมี หรือทางพัฒนาการของชีวิตแล้วตกจมทับถมเนื่องจากการกระทําของนํ้า ลม หรือธารนํ้าแข็ง.
น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง,ปะกัง ก็ว่า.
น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่งตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงินลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).